คาถาบูชาพระสังกัจจายน์

 

 "พระสังกัจจายน์" หรือ "หมีเล่อฝอ" หรือที่นิยมเรียกกันว่า "พระสังกัจจายน์โพธิสัตว์" เป็นคำเรียกกันทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับคำเรียกทางพุทธศาสนาฝ่านหินยานคือ "พระอาริย์" (พระศรีอารยเมตไตรย)อันเป็นคติความเชื่อทางพุทธศาสนาที่หมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ที่จะบังเกิดมาในอนาคตกาล ณ เวลานั้น เชื่อกันว่า สันติสุขอันแท้จริงจะบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ

          รูปลักษณะของพระสังกัจจายน์ (พระศรีอาริย์)ตามแบบคติแบบจีนนั้น จะเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะอ้วนพลุ้ยเปลือยอก มีใบหน้าที่สดชื่นร่าเริง สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และมักหัวเราะเริงร่าอยู่เสมอ สองหูยาวจรดบ่า มักเห็นท่านในลักษณะท่าทางนั้งอย่างสบายอารมณ์ และปรากฏรูปเด็ก ๆ วิ่งรายล้อมอยู่รอบตัวพระสังกัจจายน์ เด็ก ๆ ที่ปีนป่ายอยู่รอบตัวท่านจะต้องเป็นเด็กผู้ชายจำนวน 5 คน เด็กชาย 5 คนเป็นความหมายแฝงที่หมายถึง "อู่ฝู" หรือความสุข 5 ประการ อันถือเป็นความสุขที่เที่ยงแท้ของชีวิตมนุษย์ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์ กล่าวว่า พระสังกัจจายน์ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนีกัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า"ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน" พระกัจจายนะจึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรมหลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร นับจากนั้นมาพระสังกัจจายน์ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวกมีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์  สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลสเรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่า คือ  "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"          ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องโรคทางใจมากกว่าเรื่องโรคทางกายพระองค์สรุปว่า "ผู้ที่ไม่มีโรคทางกายเป็นเวลาหลายปีนั้นพอหาได้ แต่ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงชั่วเสี้ยวนาที ก็หาได้ยาก" จึงมีคำกล่าวตามมาที่ว่า "ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ" เช่นกัน          ในทางพุทธศาสนามหายานนั้น คติการสร้างรูปเคารพพระสังกัจจายน์ หรือ "หมีเล่อฝอ" เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง(ซ้อง) ซึ่งเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางด้านศิลปะหัตถกรรมจีน รูปเคารพทางพุทธศาสนาจึงถูกนำมาใช้ในความหมายที่ดีแก่ราชสำนักและคหบดีทั่วไป ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ภาพวาดจิตรกรรมจีน ประเพณี ประติมากรรมพระสังกัจจายน์ หรือ "หมีเล่อฝอ" จึงถูกนำมาใช้วัฒนธรรมมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสมหวังและมีความหมายที่ดีสำหรับใช้เป็นภาพอวยพรให้แก่กันและกัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตใด ๆ สำเร็จสมประสงค์และเพียบพร้อมด้วยปิติสุขตลอดไปคำบูชาพระสังกัจจายน์นโม ๓ จบ
กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯหรือนโม ๓ จบ
ธัมมะจักกัง ปะทังสุตะวา พุชฌิตะวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานังหิตะการะณา ภันตาตันเต กัจจายะนะ นามะ ตีสุโลเกสุ ปากะโต พรหมะปุตโต มะหาเถโร อะระโห เชฏฐโกมุนี นัตถิเถโร สะโมอินทะคันธัพพา อะสุราเทวะ สักโก พรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ นะโมธัมมัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ นะโมสังฆัสสะ กัจจายะนะมะหาเถรัสสะ สุขาสุขะวะรังธัมมัง ธัมมะจักกัง ปะวะรัง นิฎฐิตัง ฯ         อ้างอิงจาก  : หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน - ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล